สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นคือช่วงเวลาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึง รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๙๔) ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้ มีการจัดการปกครองตามแบบพสมัยอยุธยาตอนปลายแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน
๑. การปกครองส่วนกลาง (ราชธานี) บริหารราชการแผ่นดินแบบจตุสดมภ์ มี ๔ ตำแหน่งเป็นผู้รับผิดชอบงานรวม ๖ กรม คือ
๑.๑ กลาโหม มีสมุหกลาโหมเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร มีหน้าที่บังคับบัญชาการฝ่ายทหารและพลเรือนในเขตหัวเมืองภาคใต้ชายทะเลตะวันตก และตะวันออก สมุหกลาโหม มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ได้ตราคชสีห์เป็นตราเป็นประจำตำแหน่ง
๑.๒ มหาดไทย สมุหานายกเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเมืองและจตุสดมภ์ มีหน้าที่บังคับบัญชางานทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนแถบหัวเมืองฝ่ายเหนือและอีสานทั้งหมด ไม่ใช้ราชทินนามว่าจักรีเหมือนสมัยอยุธยา และไม่กำหนดแน่นอน บางครั้งใช้รัตนาพิพิธ รัตนคชเมศรา ภูธราพัย บดินทรเดชานุชิต เป็นต้น ใช้ตราราชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง
๑.๓ กรมเมือง มีหน้าที่ดังนี้
- บังคับบัญชาข้าราชการและดูแลความสงบเรียบร้อยภายในกรุงเทพมหานคร
- บังคับบัญชาศาล พิจารณาความอุกฉกรรจ์มหันตโทษ
เสนาบดีมีตำแหน่งเป็น เจ้าพระยายมราช มีตราพระยมทรงสิงห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง
๑.๔ กรมวัง มีหน้าที่ดังนี้
- รักษาราชมนเฑียรและพระราชวังชั้นนอก ชั้นใน
- เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับพระราชพิธี
มีอำนาจตั้งศาลชำระความด้วยเสนาบดีคือ เจ้าพระธรรมา ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (พระโค) เป็นตราประจำตำแหน่ง
๑.๕ กรมคลัง มีหน้าที่ดังนี้
- ดูแลการเก็บและจ่ายเงิน ผู้ที่ดำรงตำแหน่งคือ พระยาราชภักดี
- ดูแลการแต่งสำเภาไปค้าขายต่างประเทศ และเจริญสัมพันธไมตรี ผู้ดำรงตำแหน่งคือ พระยาศรีพิพัฒน์
- ตรวจบัญชี และดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออกผู้รักษาหน้าที่คือ พระยาพระคลัง ใช้ตราบัวแก้วเป็นตราประจำตำแหน่ง
๑.๖ กรมนา มีหน้าที่ดังนี้
- ดูแลรักษานาหลวง
- เก็บภาษีข้าว
- เป็นพนักงานซื้อข้าวขึ้นฉางหลวง
- พิจารณาคดีเกี่ยวกับเรื่องนา สัตว์พาหนะ
เสนาบดีตำแหน่งเป็น พระยาพลเทพ ใช้ตราพระพิรุณทรงนาค เป็นตราประจำตำแหน่ง
๒. การปกครองส่วนภูมิภาค (หัวเมืองภูมิภาค) ให้อยู่ในความรับผิดชอบของอัครมหาเสนาบดี และเสนาบดี ดังนี้
๒.๑ หัวเมืองภาคเหนือและอีสาน อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก ซึ่งต้องรับผิดชอบทั้งในด้านการทหาร และพลเรือน ตลอดจนเศรษฐกิจ และรักษาความยุติธรรม
๒.๒ หัวเมืองภาคใต้ อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม มี ๒๐ เมือง ได้แก่ สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ไชยา หลังสวน ชุมพร ประทิวคลองวาฬ กุยบุรี ปราน ตะนาวศรี มะริด กระบุรี ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง พังงา ถลาง กาญจนบุรี ไทรโยค และเพชรบุรี
๒.๓ หัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก มี ๙ เมือง ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สาครบุรี ชลบุรี บางละมุง ระยอง จันทบุรี ตราด อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่า
หัวเมืองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น เมืองเอก โท ตรี จัตวา
เจ้าเมืองเอก ได้รับแต่งตั้งจากราชธานี นอกนั้นให้เสนาบดีผู้เกี่ยวข้องดำเนินการ
หัวเมืองเอกทางเหนือ ได้แก่ พิษณุโลก ทางอีสานมี นครราชสีมา ทางใต้มี นครศรีธรรมราช ถลาง สงขลา
๓. การปกครองส่วนท้องถิ่น เริ่มค้นจากหน่วยเล็กที่สุดคือ
- บ้าน มีผู้ดูแลเรียกว่า ผู้ใหญ่บ้าน
- ตำบล มีผู้ดูแลเรียกว่า กำนัน (มีบรรดาศักดิ์เป็น "พัน")
- แขวง มีผู้ดูแลเรียกว่า หมื่นแขวง
- เมือง มีผู้ดูแลเรียกว่า ผู้รั้ง (พระยามหานคร)
การตรากฎหมายตราสามดวง
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการปรับปรุงกฎหมายบ้านเมืองครั้งสำคัญในสมัยรัชกาลที่ ๑ ดังนี้
๑. กฎหมายตราสามดวง รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้า ฯ ให้รวบรวมและชำระกฎหมายเก่าที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และคัดลอกไว้ ๓ ฉบับ ทุกฉบับจะประทับตามราชสีห์ ตราคชสีห์ และ ตราวบัวแก้ว จึงเรียกว่า "กฎหมายตราสามดวง"
๒. กฎหมายตราสามดวง หรือประมวลกฎหมายรัชกาลที่ ๑ ใช้เป็นหลักปกครองประเทศมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ก่อนจะปฏิรูปกฎหมายและการศาลของไทยให้เป็นระบบสากลเหมือนดังในปัจจุบัน
การเมืองการปกครองของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคใหม่
สมัยรัตนโกสินทร์ยุคใหม่ เริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ คนถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๗๕) เป็นยุคที่ไทยเริ่มรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและวิทยาการจากชาติตะวันตก แต่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ยังไม่ปรากฎเด่นชัด
การปรับปรุงพื้นฐานบ้านเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๔
เนื่องจากรัชกาลที่ ๔ ทรงแตกฉานภาษาอังกฤษและวิทยาการสมัยใหม่ อีกทั้งยังมีพระสหายเป็นข้าราชการและพ่อค้าชาวตะวันตก จึงทำให้เป็นผู้รอบรู้ความเป็นไปของโลกได้เป็นอย่างดี จึงได้ริเริ่มปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นชาติที่มีอารยธรรมสากล ดังนี้
๑. โปรดให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า
๒. ยกเลิกการบังคับราษฎรให้ปิดประตูหน้าต่างบ้านเรือนขณะพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนิน
๓. อนุญาตให้ราษฎรถวายฎีการ้องทุกข์ได้
๔. ทรงใช้ประกาศเป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบและผดุงความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในบ้านเมือง
๕. ว่าจ้างชาวยุโรปและอเมริกันให้เข้ารับราชการในฐานะที่ปรึกษา เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพและอำนวยประโยชน์แก่ราษฎรอย่างทั่วถึง
ข้อสังเกต รูปแบบการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๔ ยังอยู่ในลักษณะเดิม
การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕
๑. การปฏิรูปในระยะต้นรัชกาล ทรงตั้งสภาสำคัญ ๒ สภาคือ
- สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council Of State) ทำหน้าที่คล้ายสภานิติบัญญัติในปัจจุบัน
- สภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) ทำหน้าที่เช่นเดียวกับองคมนตรีในปัจจุบัน
ผลกระทบจากการตั้งสภาทั้ง ๒ คือ พวกขุนนางหัวเก่าคิดว่าจะถูกล้มล้างระบบขุนนางผู้ใหญ่จึงรวมกลุ่มต่อต้านไม่ให้ความร่วมมือ ถึงขั้นที่เรียกว่า "วิกฤตการณ์วังหน้า" ในที่สุดต้องล้มเลิกสภาทั้งสองไป
๒. การปฏิรูประยะที่สอง (ปรับปรุงกิจการบ้านเมืองครั้งใหญ่)
๒.๑ เหตุผลสำคัญที่ต้องปฏิรูป
- ทรงตระหนักภัยอันตรายจากลัทธิจักรวรรดิ์นิยมตะวันตก
- ทรงเห็นว่าระเบียบการปกครองและระบบการบริหารประเทศเท่าที่ใช้อยู่มีความล้าหลังเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก
๒.๒ ขั้นตอนการดำเนินงานปฏิรูป
- ยกเลิกตำแหน่งสมุหกลาโหม สมุหนายก และ จตุสดมภ์
- แยกงานราชการออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนเรียกว่า "กระทรวง" มีเจ้ากระทรวง เรียกว่า "เสนาบดี"
- แบ่งหน่วยราชการออกเป็น ๑๒ กระทรวง คือ
๑. กระทรวงมหาดไทย
๒. กระทรวงกลาโหม
๓. กระทรวงการต่างประเทศ
๔. กระทรวงนครบาล
๕. กระทรวงวัง
๖. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
๗. กระทรวงเกษตรและพาณิชยการ
๘. กระทรวงยุติธรรม
๙. กระทรวงยุทธนาธิการ
๑๐. กระทรวงธรรมการ
๑๑. กระทรวงโยธาธิการ
๑๒. กระทรวงมุรธาธร
ทั้งนี้ให้เสนาบดีรับผิดชอบว่าราชการในแต่ละกระทรวงให้เสมอกัน
- ปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาค ดังนี้คือ
๑. ยกเลิกหัวเมืองชั้นใน ชั้นนอก เมืองเอก โท ตรี จัตวา และเมืองประเทศราช และแบ่งเป็นมณฑล เมือง อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน โดยให้
ข้าหลวงเทศาภิบาล ดูแล มณฑล
ผู้ว่าราชการเมือง ดูแล เมือง (จังหวัด)
นายอำเภอ ดูแล อำเภอ
กำนัน ดูแล ตำบล
ผู้ใหญ่บ้าน ดูแล หมู่บ้าน
๒. โปรดให้ประชาชนในท้องถิ่นเลือก กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน
๓. โปรดให้ตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ และสุขาภิบาลหัวเมือง ที่ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อให้ประชาชนมีส่วนในการบริหารตนเองในท้องถิ่น
การปรับปรุงการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๖
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๕๓ - ๒๔๖๘) อุดมการณ์ทางการเมืองในระบอบประชาธิบไตยเริ่มเผยแพร่เข้าสู่เมืองไทย มีเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญเกิดขึ้น ๒ ประการคือ
๑. กบฏ ร.ศ. ๑๓๐ เป็นการเคลื่อนไหวของคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง เรียกตัวเองว่า "คณะพรรค ๑๓๐" นำโดยร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ แต่แผนการปฏิวัติรั่วไหลเสียก่อน คณะผู้ก่อการฯ ถูกจับได้ทั้งหมด
๒. การจัดตั้งดุสิตธานี เป็นเมืองจำลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามแนวพระราชดำริของรัชกาลที่ ๖ ตั้งขึ้นในเขตพระราชวังดุสิต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ เพื่อฝึกให้ข้าราชการบริหารมีความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิบไตยและเป็นการวางพื้นฐานประชาธิปไตยให้แก่คนรุ่นใหม่
การปรับปรุงการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๗
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๗) ทรงวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามแบบอย่างของประเทศตะวันตกดังนี้
๑. จัดตั้งสภาต่าง ๆ เพื่อช่วยบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้
- อภิรัฐมนตรีสภา เป็นสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
- เสนาบดีสภา เป็นที่ประชุมของเสนาบดีประจำกระทรวง
- องคมนตรีสภา เป็นสภาที่ปรึกษาในข้อราชการที่ทรงขอความเห็น
๒. เตรียมจัดการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล เพื่อให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองตามแบบอย่างชาติตะวันตก มีการร่างกฏหมายและเตรียมให้ราษฎรเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ แต่ยังไม่ทันประกาศใช้ได้เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อน
๓. จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ โปรดเกล้า ฯ ให้ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเตรียมจะพระราชทานให้ปวงชนชาวไทยถึง ๒ ครั้ง (พ.ศ. ๒๓๖๙ และ พ.ศ. ๒๔๗๔) แต่ถูกคัดค้านจากพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางชั้นสูง เพราะเห็นว่าประชาชนชาวไทยยังไม่พร้อม
การเมืองการปกครองสมัยประชาธิปไตย
๑. การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ สรุปได้ดังนี้
๑.๑ กลุ่มบุคคลผู้ก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง เรียกว่า "คณะราษฎร"
๑.๒ สาเหตุของการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕
๑.๓ อิทธิพลความคิดทางการเมืองของประเทศตะวันตก
๑.๔ อิทธิพลของหนังสือพิมพ์ มีการเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตย
๑.๕ ผลของการปฏิวัติ มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕
๒. ความขัดแย้งทางการเมืองภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
๒.๑ ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งแรกมีสาเหตุเกิดจาก "ร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจ" ของหลวงประดิษฐ์มนูญธรรม (นายปรีดี พนมยงค์)
๒.๒ พระบาทสมเด็จประปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ขณะประทับอยู่ที่อังกฤษ
๒.๓ รัฐบาลในชุดต่อมามีนายกรัฐมนตรีมาจากบุคคลในคณะราษฎรหลายคน เช่น
- จอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. ๒๔๘๑ ๒๔๘๗) ใช้นโยบายชาตินิยมเป็นแนวทางการสร้างชาติ
- นายปรีดี พนมยงค์ กรณีการเสด็จสวรรคตของรัชกาลที่ ๘
- พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (พ.ศ. ๒๔๘๙ - ๒๔๙๐)
ต้องเผชิญกับปัญหาความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจอย่างหนักภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒
การเมืองการปกครองไทยภายใต้บรรยากาศของการรัฐประหาร
การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทยไม่ราบรื่น ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นต้นมา จนถึง พ.ศ. ๒๕๔๙ มีการก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากฝ่ายทหาร (รวมทั้งสิ้น ๙ ครั้ง) คือ
การเมืองการปกครองของไทยในยุคกระแสประชาธิปไตย
มีความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยอย่างรุนแรงทำให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์และรักความเป็นธรรมต้องบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก
ที่มา : กฤษณา วิเชียรเพชร : "ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์" หน้า ๒๘ - ๓๕
การเมืองการปกครองสมัยประชาธิปไตย
๑. การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ สรุปได้ดังนี้
๑.๑ กลุ่มบุคคลผู้ก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง เรียกว่า "คณะราษฎร"
๑.๒ สาเหตุของการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕
๑.๓ อิทธิพลความคิดทางการเมืองของประเทศตะวันตก
๑.๔ อิทธิพลของหนังสือพิมพ์ มีการเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตย
๑.๕ ผลของการปฏิวัติ มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕
๒. ความขัดแย้งทางการเมืองภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
๒.๑ ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งแรกมีสาเหตุเกิดจาก "ร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจ" ของหลวงประดิษฐ์มนูญธรรม (นายปรีดี พนมยงค์)
๒.๒ พระบาทสมเด็จประปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ขณะประทับอยู่ที่อังกฤษ
๒.๓ รัฐบาลในชุดต่อมามีนายกรัฐมนตรีมาจากบุคคลในคณะราษฎรหลายคน เช่น
- จอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. ๒๔๘๑ ๒๔๘๗) ใช้นโยบายชาตินิยมเป็นแนวทางการสร้างชาติ
- นายปรีดี พนมยงค์ กรณีการเสด็จสวรรคตของรัชกาลที่ ๘
- พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (พ.ศ. ๒๔๘๙ - ๒๔๙๐)
ต้องเผชิญกับปัญหาความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจอย่างหนักภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒
การเมืองการปกครองไทยภายใต้บรรยากาศของการรัฐประหาร
การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทยไม่ราบรื่น ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นต้นมา จนถึง พ.ศ. ๒๕๔๙ มีการก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากฝ่ายทหาร (รวมทั้งสิ้น ๙ ครั้ง) คือ
การเมืองการปกครองของไทยในยุคกระแสประชาธิปไตย
มีความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยอย่างรุนแรงทำให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์และรักความเป็นธรรมต้องบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก
- กรณี ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ (วันมหาวิปโยค)
- กรณี ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙
- เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. ๒๕๓๕ สิ้นสุดลง มีการจัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง
ที่มา : กฤษณา วิเชียรเพชร : "ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์" หน้า ๒๘ - ๓๕
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น