วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์



รัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระนามเดิมว่า ทองด้วง ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๙ เป็นบุตรคนที่ ๔ ของหลวงพินิจอักษร ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ปละเจ้าแม่วัดดุสิต (พระนามในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) เมื่ออายุ ๒ พรรษา ทรงผนวชและสมรสกับนางสาวนาค ธิดาของคหบดีตำบลอัมพวา สมุทรสงคราม พ.ศ. ๒๓๑๙ เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก หลังกลับจากเป็นแม่ทัพไปตีหัวเมืองลาวฝ่ายใต้ ตีได้เมืองนครจำปาศักดิ์ และตีหัวเมืองเขมรได้หลายเมือง พ.ศ. ๒๓๒๕ ทรางปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๕๒ เสด็จสวรรคตด้วยพระโรคชรา ในวันที่ ๗ กันยายน พระชนมายุ ๗๓ พรรษา รวมเวลาครองราชย์นาน ๒๗ ปี


รัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. ๒๓๕๒ - ๒๓๖๗) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นพระราชโอรสของรัชกาลที่ ๑ ประสูติเมื่อง พ.ศ. ๒๓๑๐ เมื่อพระราชบิดีขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๒๓๒๕ ทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ประทับอยู่ ณ พระราชวังเดิมของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ยังมิได้ทรงเป็นกรมพระราชวังบวร (เนื่องจากรัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาพระอนุชาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (บุญมา) กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในฐานะที่ทรงเป็นทหารเอกของพระเจ้ากรุงธนบุรีมาก่อน และได้เป็นผู้มาเชิญรัชกาลที่ ๑ ไปรับราชการกับพระเจ้าตากสิน จนเมื่อกระพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (บุญมา) ถึงแก่พิราสัย จึงได้สถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อพระชนมายุ ๓๙ พรรษา เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ พระชนมายุ ๔๒ พรรษา อยู่ในราชสมบัติ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคต พ.ศ. ๒๓๖๗ พระชนมายุ ๕๗ พรรษา



รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรสของรัชกาลที่ ๒ พระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าทับ ประสูตร พ.ศ. ๒๓๓๐ ภายหลังทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กำกับราชการกรมท่า กรมคลังมหาสมบัติ กรมตำรวจ และราชการอื่น ๆ ต่างพระเนตรพระกรรณ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อพระชนมายุ ๓๗ พรรษา อยู่ในราชสมบัติ ๒๗ ปี เสด็จสวรรคต พ.ศ. ๒๓๙๔ พระชนมายุ ๖๔ พรรษา








 รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามงกุฏ ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๗ ทรงเป็นพระราชโอรสของรัชกาลที่ ๒ เช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระราชโอรสที่ประสูตรจากสมเด็จพระบรมราชินี ต่างจากสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งประสูติจากพระสนม (ภายหลังได้เฉลิมพระนามเป็นสมเด็จพระศรีสุลาลัย) เหตุที่มิได้ทรงรับราชสมบัติในตอนนั้นก็เนื่องจากมีพระชนมายุน้อยกว่า และมีประสบการณ์ในงานราชการน้อยกว่า เมื่อขุนนางข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ได้พร้อมใจกันถวายราชสมบัติให้แก่สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเจ้าฟ้ามงกุฏจึงเสด็จออกผนวช ผนวชได้เพียง ๒ วัน สมเด็จพระราชบิดาก็ประชวรหนัก (อีก ๘ วันต่อมาก็สวรรคต) เจ้าฟ้ามงกุฏทรงผนวชอยู่ตลอดรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นาน ๒๖ ปี ต่อมารัชกาลที่ ๓ สวรรคต พระองค์จึงลาผนวชเป็นกษัตริย์ เมื่อพระชนมายุ ๔๗ พรรษา พร้อมกันนั้นก็ได้ทรงสถาปนา เจ้าฟ้าจุฑามณี (พระอนุชาร่วมพระมารดาเดียวกัน) เป็นสมเด็จประปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สองเคียงคู่กับพระองค์ ๆ ครองราชย์อยู่นาน ๑๗ ปี และสวรรคตในขณะที่มีพระชนมายุ ๖๔ พรรษา ด้วยพระโรคไข้ป่า ในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๑ หลังจากเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคา ที่ตำบลหว้ากอ (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)



รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูติเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าลงกรณ์ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์มีพระชนมายุเพียง ๑๕ พรรษา จึงมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค) ในรัชการของพระองค์ ทรงเปลี่ยนแปลงปฏิรูปบ้านเมือง เสด็จประพาสยุโรปถึง ๒ ครั้ง เพื่อเจริญสัมพันธ์ไมตรีและนำความคิดความรู้สมัยใหม่มาพัฒนาประเทศได้รับถวายพระราชสมัญญาว่า พระปิยมหาราช ครองราชย์อยู่นานถึง ๔๒ ปี พระองค์เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระชนมายุ ๕๘ พรรษา





รัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๕๓ - ๒๔๖๘) พระมหาธีรราชเจ้า พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นประราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ประสูติเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เมื่อพระชนมายุ ๑๑ พรรษา เสด็จไปศึกษาในประเทศอังกฤษ เสด็จขึ้นครองราชย์วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ เสด็จสวรรคตวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ พระชนมายุ ๔๕ พรรษา รวมเวลาครองราชย์ ๑๕ ปี










 รัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๗) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระอนุชาร่วมพระมารดาเดียวกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ประสูติ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าพระชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา (พระราชโอรสองค์สุดท้ายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕) เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา เสด็จไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ แล้วกลับขึ้นครองราชย์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ก็ทรงสละราชสมบัติไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลสมัยนั้น และทรงพำนักอยู่ในประเทศอังกฤษจนสิ้นพระชนม์ ในวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ พระชนมายุ ๔๘ พรรษา




รัชกาลที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (พ.ศ. ๒๔๗๗ - ๒๔๘๙) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เป็นโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (โอรสองค์ที่ ๖๙ ของรัชกาลที่ ๕) ซึ่งถึงแก่พิราลัยแล้ว พระองค์ประสูติเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ขณะทรงพระชนมายุ ๑๐ พรรษา) แล้วเสด็จไปทรงศึกษาที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทยทรงทำหน้าที่พระมหากษัตริย์อยู่ได้เพียงประมาณปีเดียว ก็ทรงต้องพระแสงอาวุธปืนเสด็จสวรรคต วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ พระชนมายุ ๒๑ ปี รวมเวลาอยู่ในราชสมบัติ ๑๓ ปี






รัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (พ.ศ. ๒๔๘๙ - ปัจจุบัน) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชเป็นพระอนุชาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๘ ประสูติ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ สืบราชสมบัติต่อจากพระเชษฐา ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ เมื่อพระชนมายุ ๑๙ พรรษา แล้วเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทรงกับมากระทำพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ทรงได้รับถวายพระราชสมัญญามหาราช เมื่อมีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในบรรดาพระมหากษัตริย์ไทยในอดีต




ที่มา : กฤษณา  วิเชียรเพชร : "ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์" หน้า ๑๗ - ๒๐

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น