วันอังคารที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑
ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๑
๑.  สงครามโลกครั้งที่ ๑ เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ตรงกับรัชสมัยของราชกาลที่ ๖
๒.  คู่สงครามสำคัญ คือ
     ๒.๑  ฝ่ายสัมพันธมิตร  (Triple Allies)  ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น ฯลฯ
     ๒.๒  ฝ่ายพันธมิตรไตรภาคี  (Triple Entente)  หรือ มหาอำนาจกลาง  (Central Powers)  ได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ตุรกี
๓.  ช่วงเกิดสงครามระยะแรกไทยดำรงความเป็นกลาง จนถึง ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ จึงได้ประกาศตัวเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร เพราะรัชกาลที่ ๖ ทรงเล็งเห็นว่า ถ้าฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ ไทยจะได้เรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่เคยทำไว้กับนานาประเทศ


๔.  สาเหตุที่ไทยประกาศสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางมี ๓ ประการ คือ
     ๔.๑  เพราะรัชกาลที่ ๖ เห็นว่าสัมพันธมิตรจะต้องชนะแน่นอน และจะได้ขอแก้ไขสัญญาการค้าที่ไม่เป็นธรรมกับฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งทำมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔
     ๔.๒  ทรงเห็นว่าการรักษาความเป็นกลางมีผลเสียมากกว่าผลดี
     ๔.๓  มีพระราชประสงค์จะรักษาความเป็นธรรมระหว่างประเทศไว้
๕.  ภายหลังประกาศสงครามแล้ว ไทยก็ได้จับชาวเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี ส่งไปให้อังกฤษที่อินเดีย กับยึดเรือเดินทะเลเยอรมันที่ท่าเรือกรุงเทพฯ ๔๐ ลำ จากนั้นก็จัดส่งกองทหารอาสาไปร่วมรบกับสัมพันธมิตรตามคำขอของฝรั่งเศสจำนวน ๑,๒๕๐ คน (ประกอบด้วยกองบินทหารบก ๔๐๐ คนเศษ และทหารรถยนตร์ประมาณ ๘๕๐ คน) ภายใต้บังคับบัญชาของพันเอกพระเฉลิมอากาศ  (สุณี  สุวรรณประทีป) ออกเดินทางจากประเทศไทย ๒๐ มิถุนายน ๒๔๖๑ ถึงเมืองท่ามาร์แชล ของฝรั่งเศส ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ทหารไทยได้ปฏิบัติหน้าที่เข้มแข็งจนได้รับตรา "ครัวช์เดอแกร์" จากรัฐบาลฝรั่งเศส เพื่อเป็นเกียรติแก่กองทัพไทย
๖.  การเข้าร่วมสงครามครั้งนี้ไทยได้สร้าง "อนุสาวรีย์ทหารอาสา" และ "วงเวียน ๒๒ กรกฎา" ไว้เป็นอนุสรณ์ที่ระลึกไว้ด้วย
๗.  ผลที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑
     ๗.๑  ทำให้ได้รับการยกย่องว่ามีฐานะและสิทธิเท่าเทียมกับอารยประเทศ
     ๗.๒  เป็นที่รู้จักของนานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศในยุโรป
๘.  ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมประชุมลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพที่กรุงปารีส และได้รับเชิญให้เป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ
๙.  สามารถยกเลิกสิทธิ์สภาพนอกอาณาเขตกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง (ผู้แพ้สงคราม) ในฐานะประเทศผู้ชนะ



๑๐.  สามารถขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ในฐานะประเทศผู้ร่วมสงคราม และประเทศสหรัฐอเมริกายอมแก้ไขยกเลิกให้แก่ไทยเป็นประเทศแรก
๑๑.  ได้รับผลประโยชน์จากการยึดทรัพย์สินและห้างร้านของเชลย ตลอดจนได้เงินค่าปฏิมากรรมสงคราม ๒ ล้านบาท
๑๒.  สามารถนำประสบการณ์ในสงครามมาปรับปรุงกิจการทหารให้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น

ที่มา : กฤษณา  วิเชียรเพชร : "ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์" หน้า ๗๖ - ๗๗

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น