วันอังคารที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์

ความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชีย
มีอยู่ใน ๓ รูปแบบ คือ
๑.  เป็นมิตรไมตรีกันเพื่อประโยชน์ด้านการค้าขาย เช่น จีน มลายู ชวา อินเดีย เป็นต้น
๒.  เป็นคู่สงครามกัน ได้แก่
     ๒.๑  พม่า มีการทำสงครามกันมากที่สุดถึง ๑๐ ครั้ง ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เฉพาะสมัยรัชกาลที่ ๑ รวม ๗ ครั้ง ครั้งใหญ่ที่สุด คือ ศึกเก้าทัพ ตรงกับสมัยของพระเจ้าปะดุงแห่งพม่าไทยเป็นฝ่ายชนะและได้เกิดวีรศตรี ๒ ท่านคือ ท้าวเทพกระษัตรี (คุณหญิงจันทน์) กับท้าวศรีสุนทร (นางมุก) จากนั้นไทยกับพม่าได้มีการทำสงครามกันอีกในสมัยรัชกาลที่ ๒ - รัชกาลที่ ๓ และสิ้นสุดลงในสมัยรัชกาลที่ ๔ เพราะดม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษทั้งประเทศ
     ๒.๒  ญวน นับว่าเป็นคู่แข่งขยายอิทธิพลกับไทยเข้าไปยังเขมรและลาว จึงทำให้เกิดกระทบกระทั่งกับไทยถึงขั้นทำสงครามต่อกัน และส่วนใหญ่สาเหตุการรบระหว่างไทยกับญวนมักมาจากเขมร
  • สมัยรัชกาลที่ ๑ ไทยยกกองทัพไปตีญวน ๒ ครั้ง เพื่อช่วยองเชียงสือกษัตริย์ญวน
  • สมัยรัชกาลที่ ๓ ญวนได้ยกทัพมาตีหัวเมืองลาวของไทยและในสมัยนี้ไทยกับญวนรบกันนานถึง ๑๔ ปี จนกระทั่งญวนตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งในที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๔ และถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ญวนก็ตกเป็นของฝรั่งเศสทั้งประเทศ


๓.  การดำเนินนโยบายต่อประเทศราช ส่วนใหญ่ไทยเราจะเปิดโอกาสให้ประเทศราชจัดการปกครองดูแลกันเองอย่างอิสระ แต่ต้องส่งบรรณาการมาถวายและส่งกำลังมาช่วยราชการเมื่อพระมหากษัตริย์ไทยต้องการ เมื่อประเทศราชแข็งแรงก็จะมีการปราบปราม และหากมีความยุ่งยากภายในจะยกกองทัพไปช่วยจัดการให้เกิดความสงบ
     ๓.๑  เขมร เป็นชาติที่มีปัญหายุ่งยากภายในตลอดมาและไทยได้ช่วยเหลือจัดการให้เกิดความสงบมาโดยตลอด
  • สมัยรัชกาลที่ ๑ ได้ทรงอุปการะแก่นักองเองอย่างราชบุตรบุญธรรมแล้วอภิเษกให้เป็นกษัตริย์ไปปกครองเขมร
  • สมัยรัชกาลที่ ๒ ได้ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างพระอุทัยราชา (นักองจันทน์) กับพระหริรักษ์รามาธิบดี (นักองด้วง) ได้สำเร็จ
     ๓.๒  ลาว มีความสัมพันธ์อันดีกับไทยมาตลอดในฐานะ "บ้านพี่เมืองน้อง" ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๒ เพราะมีเชื้อชาติ ศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม ที่คล้ายคลึงกัน
               สมัยรัชกาลที่ ๓ เจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์หันไปฝักใฝ่ญวนแล้วคิดกบฏต่อไทย ยกกำลังเข้ามากวาดต้อนผู้คนถึงนครราชสีมา ผลที่สุดไทยก็ปราบได้สำเร็จ โดยแม่ทัพสำคัญคือ เจ้าพระยาราชสุภาวดี (ต่อมาเป็น เจ้าพระยาบดินทรเดชา) และได้เกิดวีรสตรีสำคัญอีกคนหนึ่ง คือ ท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ลาวก็จกเป็นของฝรั่งเศส
     ๓.๓  หัวเมืองมลายู
  • สมัยรัชกาลที่ ๑ ไทยยกทัพไปปราบปรามหัวเมืองมลายูที่ตั้งแข็งเมือง เจ้าเมืองไทรบุรีหนีไปพึ่งอังกฤษที่เกาะหมาก (ปีนัง)
  • สมัยรัชกาลที่ ๒ อังกฤษจึงส่งทูตมาขอเจรจากับไทยและในที่สุดไทยก็จัดการปกครองมลายูได้โดยเรียบร้อย และถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ หัวเมืองมลายูอันได้แก่ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ตกเป็นของอังกฤษ


     ๓.๔  ล้านนา
  • สมัยรัชกาลที่ ๑ มีนโยบายการปกครองประเทศราชด้วยการผูกใจให้จงรักภักดี จึงยกย่องสถาปนาพระยากาวิละเป็นพระเจ้าเชียงใหม่มีเกียรติยศเสมอเจ้านครเวียงจันทน์
  • สมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดให้ยุบเลิกประเทศราชแล้วตั้งล้านนาเป็นมณฑลพายัพ ต่อมาภายหลังเมื่อยุบเลิกมณฑล ก็ได้รวมเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยมาจนถึงทุกวันนี้
ที่มา : กฤษณา  วิเชียรเพชร : "ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์" หน้า ๗๒ - ๗๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น