ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ความสัมพันธ์กับโปรตุเกส
เป็นชาติแรกที่เข้ามาติดต่อในสมัยรัตนโกสินทร์
๑. อันโตนิโอ เดอ วีเสนท์ (องตนวีเสน) เป็นคนแรกที่เข้ามาในสมัยรัชกาลที่ ๑
๒. คาร์ลอส มานูเอล ซิลเวียรา เข้ามาในสมัยรัชกาลที่ ๒ โดยไม่ได้นำปืนคาบศิลามาให้ไทย ๔๐๐ กระบอก
๓. ต่อมารัชกาลที่ ๒ พระราชทานตำแหน่งขุนนางไทยให้แก่ คาร์ลอส มานูเอล ซิลเวียรา เป็นหลวงอภัยพานิช
ความสัมพันธ์กับอังกฤษ
การติดต่อในสมัยรัชกาลที่ ๑ อังกฤษได้ส่งฟรานซิสไลท์ หรือกัปตันไลท์ พร้อมนำดาบประดับพลอยกับปืนด้ามเงิน เข้ามาถวายรัชกาลที่ ๑ ทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชกปิตัน
สมัยรัชกาลที่ ๒ มาร์ควิส เฮสติงส์ ผู้สำเร็จราชการอังกฤษที่อินเดียได้จัดส่ง จอห์น ครอเฟิต (การะฟัด) พร้อมบรรณาการมาถวายเพื่อเจรจาการค้า ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะมีปัญหาเรื่องภาษา ครอเฟิตดูหมิ่นไทย ไทยไม่ยอมตกลงปัญหาไทรบุรี และไทยไม่พอใจที่พวกอังกฤษเข้าสำรวจปากน้ำเพื่อทำแผนที่
ต่อมาอังกฤษส่งผู้สำเร็จราชการประจำสิงคโปร์ คือ โรเบิร์ติ ฮันเตอร์ (หันแตร) เข้ามาตั้งร้านค้าขึ้นในประเทศไทย ต่อมาได้เป็นหลวงอาวุธวิเศษ
สมัยรัชกาลที่ ๓ ลอร์ด แอมเฮิร์สต์ ได้ส่งร้อยเอก เฮนรี่ เบอร์นี (บรานี) ผู้สำเร็จราชการประจำอินเดียเข้ามาขอทำสัญญาการค้ากับไทยได้สำเร็จมีชื่อว่า "สนธิสัญญาเบอร์นี" ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้ คือ
- ไทยกับอังกฤษมีไมตรีต่อกัน หากเกิดคดีความให้ตัดสินตามกฏหมายไทย
- ทั้งสองฝ่ายต้องอำนวยความสะดวกในด้านการค้าต่อกัน
- อังกฤษยอมรับว่า ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปะลิส เป็นของไทย
- ห้ามนำฝิ่นมาขายในไทย ห้ามนำข้าวออกนอก
- อาวุธและกระสุนดินดำ ต้องขายให้รัฐบาลไทยเท่านั้น
- อังกฤษเสียภาษีปากเรือ (ภาษีเบิกร่อง)
- พ่อค้าอังกฤษขายสินค้าทั่วราชอาณาจักร
- หากคนอังกฤษดูหมิ่นคนไทย อาจถูกขับไล่ออกนอกประเทศได้ทันที
ตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ ลอร์ด ปาลเมอร์สตัน ได้ส่ง เชอร์ เจมส์ บรูค มาขอแก้ไขสัญญาใหม่ ดังรายการต่อไปนี้
- ลดภาษีปากเรือ
- นำฝิ่นมาขายได้
- นำข้าวออกได้
- ตั้งสถานกงสุลในไทย
ทั้งนี้เพื่อต้องการได้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือดินแดนไทย แต่ยังไม่สำเร็จก็สิ้นสุด รัชกาลที่ ๓
ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกา เข้ามาในสมัยรัชกาลที่ ๓
๑. กัปตันเฮล เป็นอเมริกันคนแรกที่เข้ามา พร้อมทั้งได้นำปืนคาบศิลามาถวายรัชกาลที่ ๓ จำนวน ๕๐๐ กระบอก ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น หลวงภักดีราชกปิตัน จึงได้รับพระราชทานสิ่งของ และงดเว้นการเก็บภาษีจังกอบ
๒. ต่อมาประธานาธิบดี แอนดรูว์ แจคสัน ได้ส่ง เอ็ดมันท์ โรเบิร์ต (เอมินราบัด) เข้ามาทำสัญญาการค้าแบบที่ทำกับอังกฤษ
๓. ภายหลังได้ส่ง โจเซฟ บัลเลสเตียร์ มาขอทบทวนสัญญาใหม่แต่ไม่สำเร็จ
ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสมีบทบาทต่อไทยมากในสมัยรัชกาลที่ ๔ - รัชกาลที่ ๕ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการรุกรานไทยเสียมากกว่าเป็นมิตรไมตรี แต่ไทยอยู่ในภาวะเสียเปรียบ จึงจำต้องใช้วิธีการผ่อนหนักผ่อนเบาตลอดมา จนไทยต้องยอมเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสถึง ๕ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๑๐) เสียเขมรส่วนนอก คือ ประเทศเขมรส่วนใหญ่นั่นเอง
ครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๓๑) เสียแคว้นสิบสองจุไทย และหัวพันทั้งห้าทั้งหก
ครั้งที่ ๓ (พ.ศ. ๒๔๓๖) เสียฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง คือ ดินแดนลาวส่วนใหญ่ และก่อนการเสียดินแดนครั้งนี้ได้เกิดการรบต่อสู้ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ซึ่งเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า "วิกฤตการณ์สยาม ร.ศ. ๑๑๒" (พ.ศ. ๒๔๓๖)
ครั้งที่ ๔ (พ.ศ. ๒๔๔๖) เสียฝั่งขวาแม่น้ำโขงบริเวณหลวงพระบาง และจำปาศักดิ์เพื่อแลกกับจันทบุรี
ครั้งที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๔๙) เสียมณฑลบูรพาหรือเขมรส่วนใน อันประกอบด้วย พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ เพื่อแลกกับเมืองตราดที่มา : กฤษณา วิเชียรเพชร : "ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์" หน้า ๗๔ - ๗๖
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น