".....ประเพณี นั้นหมายถึง แบบแผน หรือขนบธรรมเนียมที่ปฏิบัติต่อกันมา การสิ่งใดที่ริเริ่มแล้วได้รับความนิยมถือปฏิบัติตามกันต่อไป จัดว่าเป็นประเพณี คนเราตะดำเนินชีวิตก็ต้องมีแบบแผนเป็นหลัก เราจึงต้องมีประเพณีเป็นแนวปฏิบัติ....."
นี่คือตอนหนึ่งที่ทรงกล่าวถึงความสำคัญของประเพณี ซึ่งประเพณีต่าง ๆ ของไทยมีหลากหลาย จะขอกล่าวพอเป็นสังเขป ดังนี้
พระราชพิธีสมโภชน์ขึ้นระวางช้างสำคัญ
ซึ่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีช้างสำคัญ มีผู้น้อมเกล้าถวายมาสู่พระบารมีถึง ๑๒ เชือก โดยเชือกแรกคือ พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีสมโภชน์ขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๐๒
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ซึ่งพระราชพิธีนี้ได้ยกเลิกไปแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ เชิญแขกผู้มีเกียรติ คณะทูตานุทูตผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศไปร่วมงานกันอย่างมาก เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรซึ่งเป็นกำลังสำคัญของชาติ โดยพระกรุณาเสด็จไปงานเอง นอกจากปีใดทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพันธุ์ข้าวจากสวนจิตรลดาและที่อื่น ๆ ไปร่วมพระราชพิธีนี้ด้วย ชาวนาและเกษตรกรก็จะเก็บจากท้องนาในพระราชพิธีกลับไปด้วยความปลื้มปิติ
การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า เรือในโรงเรือที่ทางการเก็บรักษาไว้ น่าจะนำมาบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อฟื้นฟูการเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคไปในพระราชพิธีต่าง ๆ รวมทั้งการทอดกฐินทางชลมารคด้วย ซึ่งนอกจากจะเป็นการบำรุงดูแลรักษาให้เรือมีสภาพดีอยู่เสมอแล้ว ยังเป็นการรักษาประเพณีดั้งเดิมไว้ และเป็นการเผยแพร่สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์น่าภูมิใจให้ประจักษ์แก่สายตาชาวโลกอีกด้วย
พระราชพิธีมงคลสมัยครบรอบการเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ
โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีขึ้นตามลำดับเวลาแห่งกาลนั้น ๆ เช่น พระราชพิธีรัชดาภิเษก ครองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๔ พระราชพิธีกาญจนาภิเษก ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๓๙ และ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี เป็นต้น
พระราชพิธีครอบองค์พระพิราพ
ซึ่งเป็นท่ารำหน้าพาทย์สูงสุด และศักดิ์สิทธิ์ในวิชานาฏศิลป์ไทย ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชพิธีพระราชทานครอบประธานประกอบพิธีไหว้ ครูโขน ละคร และต่อท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ณ ศาลาดุสิดาลัย
นอกจากการโขนการละครแล้ว ยังทรงพระปรีชาสามารถในการแต่งเพลงและโน๊ตอีกด้วย ทรงดำริว่าเพลงไทยยังไม่มีโน๊ตถ้าขืนปล่อยไปเรื่อย ๆ อีกหน่อยการร้องเพลงไทยก็จะค่อย ๆ สูญสลายไปกับผู้ขับร้องและคนร่วมสมัยเดียวกัน จึงทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชทรัพย์ ให้กรมศิลปากรจัดพิมพ์หนังสือโน๊ตเพลงไทยขึ้น และพระราชดำริให้กรมศิลปากรทำวิจัยมาตรฐานความถี่ของเสียงเครื่องดนตรีไทย ส่วนการแสดงโขนละครนั้นได้พระราชทานคำแนะนำเกี่ยวกับการปรับปรุงแต่งหน้า และเครื่องแต่งกายให้คงถาวรดั้งเดิม
ทางด้านการพระศาสนา
ในฐานะองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก แม้จะเป็นพุทธมามกะ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มิได้ทรงทอดทิ้งศาสนาอื่น ทรงพระราชทานพระบรมราชูปถัมพ์แก่ศาสนาอื่นอย่างทั่วถึงและเสมอกัน ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู และซิกซ์ก็ตาม ชาวไทยทุกคนมีสิทธิ์เลือกนับถือ และประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้อย่างเสรีภาพ
ดังนั้น ในวันที่ ๒๒ กันยายน ถึงวันที่ ๕ ตุลาคม ปี พุทธศักราช ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จออกผนวชตามราชประเพณีแต่เบื้องโบราณ เป็นการฟื้นฟูและรักษาไว้ซึ่งประเพณีโบราณดังกล่าวได้อย่างดียิ่ง ทั้งนี้ทรงมอบราชกิจของบ้านเมืองแด่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีในการยึดมั่นคุณธรรม ไม่ว่าตะเป็นในทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร ราชสังคหวัตถุ หรือธรรมดาอื่น ๆ ในพระพุทธศาสนาก็ตาม ทรงปฏิธรรมบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ตามเทศกาลแห่งพระพุทธศาสนา และราชประเพณีอย่างเลื่อมใสศรัทธา และปฏิบัติธรรมบริจาคทานทำนุบำรุงในกิจการทุกศาสนาโดยไม่ทรงว่างเว้น
ในทางพระพุทธศาสนา
ทรงเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณร ทรงสร้างปูชนียวัตถุและบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามต่าง ๆ ทรงเผยแพร่หลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา ทรงส่งเสริมผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา ทรงส่งเสริมการพิมพ์หนังสือพุทธศาสนาสำหรับเด็ก เป็นต้น
ทางศาสนาอิสลาม ทรงส่งเสริมการเผยแผ่หลักธรรมที่ถูกต้อง ทางพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติการบริหารองค์การศาสนาอิสลาม ทรงสนับสนุนการสร้างมัสยิดกลางประจำจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่งานเมาสลิดกลาง
ศาสนาพราหมณ์ฮินดู ทรงพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่สำนักพราหมณ์ คือ เทวสถาน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พราหมณ์เป็นผู้ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ตามโบราณราชประเพณี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์แก่หัวหน้าพราหมณ์และพราหมณ์อาวุโสให้มีหน่วยงานเรียกว่า ฝ่ายโหรพราหมณ์ในกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง
ศาสนาคริสต์ พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ศาสนาคริสต์ทั้งนิกายโรมันคาทอลิค และนิกายโปรเตสแตนต์ โดยเสด็จพระราชดำเนินไปร่วมในพิธีสำคัญของศาสนาทั้ง ๒ นิกาย ในโอกาสอันสมควร ตลอดจนเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนตามโรงเรียนต่าง ๆ ของทั้ง ๒ นิกาย
ส่วนศาสนาซิกข์นั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมงานฉลองครบ ๕๐๐ ปี ศาสนาซิกข์ ซึ่งจัดขึ้นที่โรงละครแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๒
ที่มา : ทัศนา ทัศนมิตร : "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม" หน้า ๖๘ - ๗๓
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น