๑. ความสัมพันธ์กับจีน
- ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นไทยได้ส่งทูตบรรณาการไปจีน ๕๒ ครั้ง ภายในเวลา ๖๙ ปี (รัชกาลที่ ๑ จำนวน ๒๒ ครั้ง รัชกาลที่ ๒ จำนวน ๑๓ ครั้ง และรัชกาลที่ ๓ จำนวน ๑๗ ครั้ง)
- พระมหากษัตริย์ไทยโปรดให้บรรดาทูตานุทูต และผู้แทนพระองค์ไปดำเนินธุรกิจค้าขายกับจีน และจ้างพ่อค้าจีนเป็นตัวแทนค้าขายของพระองค์เพื่อไปดำเนินการค้าขายกับจีนอีกด้วย
- ชาวจีนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไทยเพิ่มมากขึ้น ได้รับความยุติธรรมในการค้าขายกับไทยมากกว่าชาติอื่น ๆ และซื้อขายได้โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ยุ่งยาก ขณะเดียวกันพ่อค้าไทยก็ได้รับสิทธิพิเศษในการค้าขายกับจีนด้วย
- การค้าระหว่างไทย - จีน ในรูปแบบบรรณาการ ยุติลงภายหลังสิ้นสุดสมัยรัชกาลที่ ๓ เพราะผลกระทบจากอิทธิพลของจักรวรรดินิยมตะวันตก
ภายหลัง พ.ศ. ๒๓๑๐ มอญตกเป็นของพม่าทั้งหมด และมีพวกมอญบางกลุ่มหนีพม่ามาอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย ทำให้ไทยได้มอญเป็นกำลังสำคัญในกองทัพสำหรับสู้รบกับพม่า เช่น ในสมัยรััชกาลที่ ๓ ได้เจ้าพระยามหาโยธา ชาวมอญเป็นผู้คุมกองทัพมอญเพื่อไปสู้รบกับพม่า
๓. ความสัมพันธ์กับลังกา
ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งมีมาแต่สมัยสุโขทัย
๓.๑ สมัยรัชกาลที่ ๒ พระภิกษุลังกาชื่อ พระสาสนวงศ์ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุกับต้นโพธิ์ลังกาเข้ามาถวาย
๓.๒ สมัยรัชกาลที่ ๒ ได้แต่งตั้งสมณฑูต ๙ รูป มีพระอาจารย์ดีกับพระอาจารย์เทพเป็นหัวหน้าออกไปสืบพระพุทธศาสนาในลังกาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๗ ซึ่งเป็นสมณทูตไทยคณะแรกที่ไปเจริญสมณไมตรี สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
๓.๓ สมณทูตไทยกลับถึงเมืองไทยในปี พ.ศ. ๒๓๖๑ พร้อมทั้งได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์มา ๖ ต้น ซึ่งนับเป็นโพธิ์พันธุ์ลังกาที่เข้ามาครั้งแรกสมัยรัตนโกสินทร์ และได้นำมาปลูกไว้ตามที่ต่าง ๆ ดังนี้
- ปลูกที่กลันตัน ๑ ต้น
- ปลูกที่นครศรีธรรมราช ๒ ต้น
- ปลูกที่วัดสุทัศน์ฯ ๑ ต้น
- ปลูกที่วัดมหาธาตุฯ ๑ ต้น
- ปลูกที่วัดสะเกศฯ ๑ ต้น
๓.๕ สมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ส่งสมณทูตไปลังกา ๑ ครั้ง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ ประกอบด้วยพระสงฆ์ ๑๐ รูป มีพระอโนมศิริมุนี (สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สี)) เป็นหัวหน้า และคฤหัสต์อีก ๖ นายเพื่อนำคัมภีร์ หนังสือซึ่งสมณทูตครั้งก่อนออกไปยืมเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ กลับคืนไป และหวังที่จะบวชธรรมยุติกนิกายให้แก่ชาวลังกาผู้เลื่อมใสศรัทธาธรรมยุติกนิกายด้วย
ที่มา : กฤษณา วิเชียรเพชร : "ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์" หน้า ๗๓ - ๗๔
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น